อำเภอหางดง มีสภาพเมืองที่กลมกลืนกับอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีสภาพทางเศรษฐกิจดีมาก ทิศเหนือติดกับอำเภอสะเมิงและอำเภอแม่ริม ทิศตะวันออกติดกับอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอสารภี ทิศใต้ติดกับอำเภอเมืองลำพูน (จังหวัดลำพูน) และอำเภอสันป่าตอง ทิศตะวันตกติดกับอำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่วาง และอำเภอสะเมิง
//include("topbanner.php"); ?>require("Connections/db_connect.php"); mysql_query("SET NAMES UTF8"); $strSQL = "SELECT * FROM agoda_hotels where addressline1 like '%hangdong%' or addressline1 like '%hang dong%' order by RAND() LIMIT 4"; $objQuery = mysql_query($strSQL); while($objResult = mysql_fetch_array($objQuery)) { ?> //echo ""; ?> } ?>
ค้นหาโรงแรมในอำเภอหางดง สามารถเลือกโรงแรมใกล้สถานที่สำคัญต่างๆในหางดงได้
ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ฮะ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง บนเส้นทางสายหางดง-สะเมิง (ทางหลวงหมายเลข 1269) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 15-16 หากไปทางหางดงจะอยู่ฝั่งซ้ายมือ แยกเข้าไปประมาณ 2.5 กิโลเมตร สามารถเดินทางจากเชียงใหม่ได้สองทาง คือ ตามทางสายเชียงใหม่-แม่ริม-สะเมิง-หางดง ระยะทาง 32 กิโลเมตร และเส้นทางสายเชียงใหม่-หางดง-สะเมิง ระยะทาง 43 กิโลเมตร พันธุ์ไม้ที่ปลูกคือ กุหลาบหนูที่จะปลูกกันทั้งปี และยังมีผักยอดซาโยเต้ ลูกฟักแม้ว มะเขือม่วงก้านเขียว ถั่วแขก และมะระขาว เป็นต้น
เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมงานแกะสลักไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้สัก งานแต่ละชิ้นได้รับการแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง เช่นไม้ขี้เหล็กสลักภาพครูบาศรีวิชัยไม้ขี้เหล็กเนื้อแข็งมากและแกะยาก จนอาจทำให้เครื่องมือเสียได้ ผู้แกะใช้ไม้เนื้อนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่ครูบาศรีวิชัยได้ต่อสู้ฝ่าฟันมา นอกจากนี้ยังมีไม้แกะพญางิ้วดำซึ่งเป็นไม้หายาก ค่าเข้าชม 100 บาท นักศึกษามาเป็นคณะ คนละ 50 บาท นักเรียนมาเป็นคณะคนละ 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. 0 5335 5819, 0 5382 2649
ตั้งอยู่ที่บ้านต้นแกว๋น ต.หนองควาย อ.หางดงเป็นวัดเก่าแก่ที่มีลักษณะงดงามมาก สิ่งที่น่าสนใจ คือศาลาจัตุรมุขซึ่งพบเพียงหลังเดียวในภาคเหนือ นอกจากนี้ ศิลปกรรมล้านนาดั้งเดิมภายในวัดนี้ยังจัดว่าเป็นต้นแบบที่สมบูรณ์และมีคุณค่ามาก สมาคมสถาปนิกสยามประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นเมื่อปี พ.ศ. 2532 การเดินทาง ใช้ทางหลวงสายหางดง-สะเมิง เมื่อเข้าเขตบ้านต้นแกว๋น ให้สังเกตทางเข้าวัดทางด้านซ้ายมือ ประมาณ กิโลเมตรที่ 37 เข้าไปประมาณ 70 เมตร หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางมีรถสองแถวสาย เชียงใหม่-หางดงลงบริเวณทางเข้าแยกสะเมิง แล้วต่อรถสายบ่อหลวงเข้าไป
ผลิตภัณฑ์มีหลายอย่างเช่น หม้อแกง หม้อน้ำ แจกัน โดยเฉพาะน้ำต้น(คนโทใส่น้ำที่ชาวเหนือนิยมวางไว้หน้าบ้านให้ผู้ผ่านไปมา ได้ดื่มดับกระหาย)นั้นเป็นที่นิยมทั่วไปแก่คนที่พบเห็น ปัจจุบันได้มีการพัฒนากรรมวิธีในการผลิตและรูปแบบเครื่องปั้นดินเผา เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีสันสดขึ้น แต่มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในบางครัวเรือนเท่านั้น การเดินทาง บ้านเหมืองกุงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามเส้นทางเชียงใหม่-หางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร และระยะทางห่างจากถนนสายวงแหวน (ทางหลวงหมายเลข 11 สนามบิน) ประมาณ 6 กิโลเมตร โดยอยู่ก่อนถึงทางแยกตัดใหม่สายหางดง-สะเมิงเพียงเล็กน้อย
อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 15 ถึงห้องสมุดประชาชนอำเภอหางดง จึงแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีชื่อเสียงในการทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมการผลิตและซื้อเป็นสินค้าที่ระลึกได้
มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 484 ตารางกิโลเมตร หรือ 302,500 ไร่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สะเมิง หางดง แม่วาง และสันป่าตอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนและหินอัคนี ประกอบด้วยป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ดิบเขา สนเขา ดิบแล้ง เบญจพรรณ และ เต็งรัง เป็นต้นกำเนิดน้ำแม่วาง น้ำแม่วิน และน้ำแม่ขาน และที่นี่เป็นแหล่งที่พบเอื้องมณีไตรรงค์แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งจะบานในช่วงเดือนมกราคม